ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ช่อง ITV

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (อังกฤษ: Independent Television ชื่อย่อ: itv) เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ข่าวภาคค่ำประจำวันเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรก ที่เรียกรายการข่าวโดยไม่มีคำว่าภาคและมีชื่อสถานีเรียกทุกครั้ง เช่น ข่าวเช้าไอทีวี ข่าวเที่ยงไอทีวี ข่าวค่ำไอทีวี เป็นต้น เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ การเป็น สถานีข่าวและสาระความรู้ โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานี คือ กิตติ สิงหาปัด และ เทพชัย หย่อง ออกอากาศทางช่อง หมายเลข26และช่องหมายเลข 29 โดยมี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ และผู้กำกับสัมปทาน เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 6 ที่ให้บริการแบบไม่ต้องเสียค่าบริการ แห่งประเทศไทย จนกระทั่งต้องยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 เนื่องจากไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานส่วนต่างๆ และค่าปรับแก่ สปน.ได้ตามเวลาที่กำหนด

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถือกำเนิดจากดำริของรัฐบาลในสมัยที่ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ที่ต้องการให้มีสถานีโทรทัศน์เสรี เพื่อการนำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้สู่ประชาชน โดยเปิดให้เอกชนเช่าสัมปทาน เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยในโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าวนั้น ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งไว้ว่า ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 สถานีโทรทัศน์ทั้งหมด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งสามารถบิดเบือนการนำเสนอข่าว ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการได้ ประชาชนจึงไม่สามารถรับรู้ข่าวที่ทหารเข้าปราบปรามประชาชนในช่วงนั้นได้ ประจวบเหมาะกับการที่มีเสียงเรียกร้องของประชาชน ให้รัฐบาลใช้นโยบายจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และรายการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2538 สปน.ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น โดยกลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งนำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ ในระบบยูเอชเอฟ ออกอากาศทางช่อง 26 นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟช่องแรกของประเทศไทย จากนั้น กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ก่อตั้ง บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อเป็นนิติบุคคลที่ดำเนินการสถานีฯ โดยมีการลงนามในสัญญาสัมปทานฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ ด้วย

ในระยะแรก สถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีที่ทำการอยู่บนชั้นที่ 16, 17 และ 21 ของตึกฝั่งตะวันออก อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ถนนพหลโยธิน โดยมีระบบการบริหาร ที่เน้นภาพลักษณ์ของการนำเสนอข่าวสารและสาระเป็นหลัก โดยมี เทพชัย หย่อง เป็นผู้อำนวยการฝ่ายข่าว พร้อมทั้งนำทีมงานจากเครือเนชั่น เข้าเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ในช่วงแรกของไอทีวี มีรายการข่าว และรายการสารคดีเชิงข่าว ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ข่าวภาคค่ำ, ไอทีวี ทอล์ค, สายตรงไอทีวี, ถอดรหัส, ย้อนรอย เป็นต้น ซึ่งทำให้ไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการนำเสนอข่าวสารในเวลาต่อมา รวมถึงการเป็นผู้นำในเชิงข่าวสืบสวนสอบสวนอีกด้วย

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และในราวปี พ.ศ. 2542 หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 โดยส่งสัญญาณจากยอดอาคารใบหยก 2 และมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 52 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุด ครอบคลุมจำนวนผู้รับชม ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย

ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของ บมจ.ไอทีวี จากธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่แสดงความจำนงจะขายหุ้น หลังประสบปัญหาในการบริหารสถานีฯ ส่งผลให้พนักงานฝ่ายข่าวของสถานีฯ บางส่วนไม่เห็นด้วย และเมื่อบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นเป็นผลสำเร็จ กลุ่มผู้บริหารและพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วน ที่นำโดย เทพชัย หย่อง ตัดสินใจลาออกจากสถานีฯ และหลังจากนั้น ไอทีวีก็เคลื่อนย้ายที่ทำการ จากอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า มาอยู่บนอาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต

ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2546 นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอร์น ออพปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด และ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกับ บมจ.ไอทีวี พร้อมเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 และมีผลให้นายไตรภพมีสถานะเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีด้วย ซึ่งถือเป็นการกลับสู่ไอทีวีอีกครั้ง หลังจากที่ในระยะเริ่มแรกของสถานีฯ นายไตรภพ เคยเข้าร่วมกับกลุ่มสยามทีวี ในการประมูลสถานีโทรทัศน์เสรีมาแล้ว แต่ไม่นานนักก็ได้ถอนตัวออกไป

เมื่อเข้าบริหารไอทีวี นายไตรภพได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถานีฯ ใหม่ในหลายด้าน เช่น เปลี่ยนแปลงเวลานำเสนอข่าวภาคค่ำ จาก 19.00 น. มาเป็น 18.00 น., ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอรายการประเภทข่าวใหม่ และเปลี่ยนแปลงผังรายการในช่วงเวลา 15.00-24.00 น. โดยเพิ่มเติมรายการบันเทิง เช่น ร่วมมือร่วมใจ, ไอทีวี ฮอตนิวส์, บุปผาแฟนคลับ (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป), ชวนชื่นคาเฟ่ (ของ บจก.บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ ) เป็นต้น พร้อมทั้งนำรายการทั้งหมดของ บจก.บอร์นฯ เช่น ทไวไลท์โชว์, เกมเศรษฐี, วอท อีส อิท? อะไรกันนี่ เป็นต้น ซึ่งเดิมออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 มาออกอากาศทางไอทีวีด้วย แต่ในเวลาต่อมา บจก.บอร์น และ บมจ.กันตนา กรุ๊ป ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตกลงไว้ในบันทึกความเข้าใจได้ จึงส่งผลให้ทั้งสองบริษัทกลายเป็นผู้เช่าเวลาของสถานีฯ เท่านั้น พร้อมกันนั้น นายไตรภพก็ต้องสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการสถานีฯ ลงเฉพาะตัว โดยมี นายทรงศักดิ์ เปรมสุข และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เข้ามาเป็นผู้บริหารสถานีฯ แทน

ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ที่ชี้ขาดให้ สปน.ลดค่าสัมปทานแก่สถานีฯ เป็นเงิน 230 ล้านบาท ตลอดจนการปรับเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงในผังรายการ เป็นร้อยละ 50 เท่ากับรายการข่าวและสาระ รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดย สปน. ซึ่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองสูงสุดก็พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับเช่าเวลาออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับเพิ่มสัดส่วนให้รายการข่าวและสาระ เป็นร้อยละ 70 ต่อรายการบันเทิง ร้อยละ 30 ตามเดิม นอกจากนี้ บมจ.ไอทีวี ยังต้องเสียค่าปรับจากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี

จากนั้น สถานีฯ จึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกอากาศโดยทันที ประกอบกับที่ผู้ผลิตรายการบางส่วน เริ่มถอนรายการออกจากสถานีฯ เป็นผลให้ความนิยม (เรตติ้ง) ของสถานีฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศให้ บมจ.ไอทีวี ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงินรวม 464 ล้าน 5 แสนบาท มาชำระกับ สปน.ภายใน 45 วัน และให้ชำระค่าปรับ กรณีทำผิดสัญญาเรื่องปรับผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท ทั้งนี้ สปน.กับ บมจ.ไอทีวี ได้เปิดการเจรจา ขอให้ต่อเวลาเรียกชำระออกไปอีก 30 วัน ไปสิ้นสุดในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2550 แต่อย่างไรก็ตาม บมจ.ไอทีวี ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานและชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว ให้กับ สปน.ได้ ที่สุดแล้ว ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี ระหว่าง สปน.กับ บมจ.ไอทีวี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 24.00 น. รวมระยะเวลาการออกอากาศทั้งสิ้น 10 ปี 8 เดือน 6 วัน 5 ชั่วโมง (รวมอายุสัมปทาน 11 ปี 8 เดือน 4 วัน)

บทความที่สามารถคลิกอ่านได้ด้านบนนั้น คือรายชื่อผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวของสถานีฯในขณะนั้นทั้งหมด แต่ในเวลาต่อมาเมื่อสถานีฯได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นทีไอทีวี และไทยพีบีเอสแล้วนั้น บางรายก็ยังคงหรือกลับมาปฏิบัติงานต่อในแต่ละยุคของสถานี และบางรายย้ายไปปฏิบัติงานที่สถานีแห่งอื่นๆหรืองานด้านอื่นแทน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีในระบบยูเอชเอฟ ในนามสถานีโทรทัศน์ไอทีวีนั้น มีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ โดยทำสัญญาสัมปทานให้ บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด (ภายหลังคือ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)) ดำเนินการจัดตั้งสถานีฯ ได้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 และออกอากาศทางช่อง 26 มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

ต่อมา ราวปี พ.ศ. 2542 ไอทีวีได้รับอนุญาตจาก สปน.ให้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณที่ออกอากาศ ในระบบยูเอชเอฟ จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29[ต้องการอ้างอิง] และในปีเดียวกัน ไอทีวีดำเนินการย้ายเสาส่งสัญญาณในส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จากอาคารเอสซีบีปาร์คพลาซ่า , อาคารสินสาธร ทาวเวอร์ และ อาคาร เนชั่น ทาวเวอร์ มาอยู่ที่ อาคารใบหยก 2 แทน โดยไอทีวีดำเนินการแพร่ภาพนิ่ง เพื่อแจ้งให้ผู้ชมทราบการเปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณ และการย้ายเสาส่งของสถานีฯ ไว้ทางช่อง 26 พร้อมไปกับการแพร่ภาพออกอากาศตามปกติ ทางช่อง 29 ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2542ก่อนที่จะยุติการแพร่ภาพทางช่อง 26 อย่างสมบูรณ์ ในปีเดียวกัน และออกอากาศทางช่อง 29 เรื่อยมาจนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตามลำดับ ปัจจุบันช่อง 26 ในกรุงเทพมหานคร ถูกใช้งานโดยกรมประชาสัมพันธ์เพื่อแพร่ภาพในระบบดิจิทัล

อนึ่ง ไอทีวีเคยพักการออกอากาศทางสถานีฯ ตามเวลาปกติ ในช่วงเวลา 01.30 - 06.00 น. ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 โดยใช้ภาพทดสอบ ไม่มีเสียง

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี กำหนดคำขวัญในยุคแรก (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2547) ไว้ว่า ไอทีวี ทีวีเสรี ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 สถานีฯ เปลี่ยนแปลงคำขวัญใหม่เป็น ไอทีวี ความสุขของทุกคนในครอบครัว โอกาสนี้ ไอทีวีประกาศเริ่มใช้ ??? สีแดง เป็นสีประจำสถานีฯ จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ไอทีวีปรับปรุงตราสัญลักษณ์ที่ใช้ในยุค พ.ศ. 2543 โดยนำแถบสีเทา ตัวอักษร ทีวีเสรี และแถบแม่สีแสง คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ออกเสีย คงเหลือเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ itv พร้อมเปลี่ยนเป็นสีขาวทั้งหมด และอยู่บนพื้นสีแดง จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งหนังสือยกเลิกสัญญามายัง บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผ่านระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 อย่างเป็นทางการ ในเวลา 24.00 น. ของวันดังกล่าว ทั้งนี้ ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้พนักงานไอทีวีดำเนินการออกอากาศได้ต่อไป ในคลื่นความถี่เดิมอย่างต่อเนื่อง โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการ ใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 8 มีนาคม เป็นต้นไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406